วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

งานวิจัย Smart Dongle (ฉบับย่อ)

การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้ Android Phone ที่มีต่อการใช้งาน Smart Dongle Application


วิเชษฐ ดารากัย
Senior Engineer, Fitab Complex Co.,Ltd.2554


บทคัดย่อ

Smart Dongle เป็นฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานร่วมกับ Application ที่ทำงานบน Android Phone เพื่อใช้ในการควบคุมหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีตัว Smart Dongle ในการเชื่อมต่อกับ USB Port ของคอมพิวเตอร์ และสั่งการทำงานผ่านทาง Android Phone ที่ได้ติดตั้ง Application โดยสามารถทำงานเสมือนนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะการทำงานจะส่งสัญญาณ บลูทูธ จาก Android Phone มายังตัว Smart Dongle
การวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นในส่วนผลที่ได้ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจทางการตลาด เพื่อวางแผนการจำหน่ายตัวสินค้า Smart Dongle ของบริษัท ฟิแทบ คอมเพล็ก จำกัด


บทที่ 1 บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบัน การใช้งานอุปกรณ์ Android Phone มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย อันเนื่องมาจากราคาของตัวอุปกรณ์ที่ลดลง และความสามารถในการทำงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น และจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์ในปัจจุบันเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ดังนั้น การที่จะใช้งาน Android Phone ให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น จะต้องมีการเลือกใช้ Application ที่เหมาะสม และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
Smart Dongle เป็นฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานร่วมกับ Application ที่ทำงานบนระบบ Android Phone เพื่อใช้สำหรับการควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยผ่านทางสัญญาณบลูทูธ

1.2 ประเด็นปัญหาของการวิจัย
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัยครั้งนี้เป็น 4 ข้อดังนี้

1.2.1 ความต้องการของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone เมื่อจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศอายุ และอาชีพ เป็นอย่างไร
1.2.2 ความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone เมื่อจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ เป็นอย่างไร
1.2.3 ความต้องการของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone ต่อการใช้งาน Smart Dongle เมื่อจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ เป็นอย่างไร
1.2.4 ความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone ต่อการใช้งาน Smart Dongle เมื่อจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ เป็นอย่างไร

1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
จากประเด็นปัญหาของการวิจัย ผู้วิจัยจึงนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ 4 ข้อ ดังนี้

1.3.1 เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ
                1.3.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ
                1.3.3 เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone ที่มีต่อการใช้งาน Smart Dongle จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ
                1.3.4 เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone ที่มีต่อการใช้งาน Smart Dongle จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ

1.4 ขอบเขตของการวิจัย
                การศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone และการใช้งานร่วมกับ Smart Dongle มีขอบเขตของการวิจัย ดังนี้
                1.4.1 การวิจัยครั้งนี้จะศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้อุปกรณ์ Android Phone กับการใช้งาน Smart Dongle จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้าน เพศ, อายุ และอาชีพ เท่านั้น
                1.4.2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรที่มีการใช้งาน Android Phone ในชีวิตประจำวัน
                1.4.3 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                1.4.3.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ สถานภาพส่วนบุคคล ของประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เพศ, อายุ และ อาชีพ
                1.4.3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ ความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้ Android Phone ที่มีต่อการใช้งาน Smart Dongle.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น