วิเชษฐ ดารากัย
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ปีการศึกษา 2550
ปีการศึกษา 2550
บทคัดย่อ
โครงงานนี้เป็นการจัดทำระบบสำหรับรองรับการใช้งาน GSM และ GPS Tracker เพื่อระบุพิกัดตำแหน่งของอุปกรณ์ส่งข้อมูล ณ.เวลาปัจจุบัน ซึ่งการใช้งาน GPS Tracker โดยผ่านดาวเทียม GPS และส่งสัญญาณผ่านทางโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM โดยโครงงานนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การเขียนโปรแกรมเพื่อนำมาใช้งานร่วมกับระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้อย่างอัตโนมัติ และทำการทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้น
บทที่ 1 บทนำ
เนื่องจากในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสำหรับระบุตำแหน่งหรือ GPS ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขณะนี้เทคโนโลยีดังกล่าวกลายเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ในการระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลกได้ทุกตำแหน่ง ทุกสภาพอากาศ ทุกหนทุกแห่งและมีแนวโน้มว่าเทคโนโลยี GPS จะมีบทบาทสำคัญมากในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงได้มีความพยายามที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในงานที่หลากหลาย
ปัจจุบันโครงข่ายโทรศัพท์ GSM ได้กระจายครอบคลุมไปทั่วประเทศผู้ใช้บริการจึงมีความสะดวกไม่ว่าจะติดต่อในสถานที่ใดๆ ประกอบกับรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายและการประยุกต์ใช้งานโครงข่ายแบบใหม่ๆมีเข้ามาตลอด อีกทั้งค่าบริการมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
โปรแกรมแผนที่สำหรับระบุตำแหน่งที่มีขายอยู่ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและจะเน้นไปที่อุปกรณ์ GPS Navigator ซึ่งโปรแกรมที่ใช้งานร่วมกับ GPS Tracker ยังมีไม่มาก ซึ่งหากเป็นตัวที่สามารถใช้งานได้ฟรี ผู้ใช้จะต้องกรอกระุบุพิกัดค่า ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาด และเป็นผลให้ผลที่ได้มีความคลาดเคลื่อน
บทที่ 2 ทฤษฏีพื้นฐานและหลักการ
2.1 ระบบจีพีเอส
ระบบจีพีเอส เป็นโครงการของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร แต่อนุญาตให้พลเรือนสามารถใช้งานได้ภายใต้ข้อจำกัด เช่น มีความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งที่วัดได้มากกว่าอุปกรณ์ทางการทหาร และไม่สามารถใช้ได้ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากได้ (เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป)
2.2 อุปกรณ์ GSM / GPS Tracker
ตัวอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker มีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบ GPS Receiver ทำหน้าที่ในการรับสัญญาณดาวเทียม และผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณดาวเทียม จากโปรโตคอล NMEA เป็นค่าพิกัด ละติจูดและลองจิจูด เพื่อระบุตำแหน่งปัจจุบัน
รูปที่ 1. แสดงส่วนประกอบของ GPS Receiver
2. ส่วนประกอบ GSM ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้ เป็นค่าพิกัด ละติจูดและลองจิจูด ไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือปลายทางในลักษณะข้อความสั้น (SMS)
รูปที่ 2. แสดงส่วนประกอบของ GSM Module
2.3 โปรแกรม Google Map
เป็นบริการแผนที่ฟรีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งแผนที่จะเป็นลักษณะกราฟิก ทำให้มีความรวดเร็วในการทราบพิกัดที่เป็นพื้นที่จริง และแผนที่ยังมีการอัปเดตอยู่เสมอ ทำให้ได้แผนที่่ที่่ถูกต้อง และทางผู้ผลิตยังเปิดรหัสโค้ดให้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาต่อได้
2.4 ภาษา Microsoft Visual Studio 2005 C#.Net สำหรับการเขียนโปรแกรมภาครับสัญญาณแสดงผล
เนื่องจากภาษานี้มีฟังก์ชันรองรับในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ภายนอกกับระบบคอมพิวเตอร์ และง่ายแก่การทำความเข้าใจ
บทที่ 3 แนวคิดและการออกแบบโปรแกรม
3.1 หลักการโดยรวมของโปรแกรม
โปรแกรมที่ได้จัดทำขึ้น เป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับรับข้อมูลข่าวสารสั้น (SMS) พิกัดแผนที่ จากโทรศัพท์มือถือ ไปยังโปรแกรม เพื่อแสดงตำแหน่งปัจจุบันของอุปกรณ์ส่งสัญญาณ GPS / GSM Tracker
3.2 ส่วนประกอบหลักของโปรแกรม
โปรแกรมนี้จะแบ่งการทำงานหลักๆ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนอินเตอร์เฟสระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับคอมพิวเตอร์
2. ส่วนรับข้อความจากโทรศัพท์มือถือ
3. ส่วนแผนที่แสดงผล
รูปที่ 3. แสดงส่วนประกอบของการใช้งาน
รูปที่ 4. แสดงส่วนประกอบของ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
บทที่ 4 ผลการทดลอง
4.1 การทดสอบระบบ
ในการทดสอบระบบ ได้ทำการทดสอบ 3 รูปแบบ คือ
1. การทดสอบเทียบความคลาดเคลื่อนในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker โดยเปรียบเทียบพิกัดที่ได้ กับพิกัดแผนที่ ของกรมแผนที่ทหาร
รูปที่ 5. แสดงส่วนการเปรียบเทียบพิกัดแผนที่ กับพิกัดแผนที่ ของกรมแผนที่ทหาร
2. การทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker กับอุปกรณ์ GPS ชนิดอื่น
รูปที่ 6. แสดงส่วนการเปรียบเทียบตำแหน่งของ GSM / GPS Tracer กับอุปกรณ์ GPS ชนิดอื่น
รูปที่ 7. แสดงส่วนเปรียบเีทียบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กับโปรแกรมที่มีอยู่ในท้องตลาด
บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง
5.1 สรุปผลการทดลองที่ได้
แบ่งผลการทดลองได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. การทดสอบเทียบความคลาดเคลื่อนในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker โดยเปรียบเทียบพิกัดที่ได้ กับพิกัดแผนที่ ของกรมแผนที่ทหาร
ความคลาดเคลื่อนที่ได้มีค่าน้อยมาก เิกิดจากปัจจุบันผู้ผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณ GPS มีเทคโนโลยีที่ทั้นสมัย ทำให้สามารถสร้างอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
2. การทดสอบเปรียบเทียบความแม่นยำในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker กับอุปกรณ์ GPS ชนิดอื่น
อุปกรณ์ GSM / GPS Tracker เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานในการบอกพิกัดตามมาตรฐานของสินค้าในกลุ่ม GPS ที่มีอยู่ในท้องตลาดในปัจจุบัน
3. การทดสอบเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของพิกัด โดยทำการเปรียบเทียบโปรแกรมที่สร้างขึ้น กับโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีอยู่ในท้องตลาด
โปรแกรมที่เขียนขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
5.2 ข้อแนะนำและแนวทางในการพัฒนาต่อ
โปรแกรมชุดนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละองค์การ เพื่ออำนวยความสะดวก ให้สามารถใช้งานโปรแกรมร่วมกับอุปกรณ์ GSM / GPS Tracker ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
[1] ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ "หลักการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่" สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
[2] สุธี พงศาสกุลชัย และคณะ "คัมภีร์ Visual C# 2005" บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, 2549
[3] สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร "แนะนำการใช้ประโยชน์จากกิจการดาวเทียมเบื้องต้น" http://www.space.mict.go.th/knowledge/usage.php
[4] GPS Tracker: http://www.xexun.com/eshowcps.asp?ID=57
[5] Maps Help: http://maps.google.com/support/bin/answer.py?answer=67842
[6] NMEA 2000 Standard: http://www.nmea.org/pub/2000/index.html
เอกสารฉบับเต็ม PDF File >>
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ